เป้าหมายหลัก

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลกาเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ที่
วันที่ 12 – 15 สิงหาคม 2557
จากการร่วมวิถีของ LPMP และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รับความรู้และเทคนิคการจัดกิจกรรมดังนี้
1. ร่วมประชุมกับคณะครู ลำปลายมาศพัฒนา
2. กิจกรรม การอ่านกับการพัฒนาสมอง
ขั้นตอนของการอ่านหนังสือ
- แทนหน่วยอักขระด้วยหน่วยเสียง
- รับรู้ความหมายของคำ
- รับรู้การเรียบเรียงประโยค /ไวยากรณ์
- รับรู้การใช้วาทกรรมและภาษาในเชิงปฏิบัติ
- การสะกดคำ
- ความเข้าใจภาษา
ผลการทำงานของสมองขณะอ่านหนังสือ
1. การอ่านหนังสือมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการทำหน้าที่ของสมองคนและตำแหน่งในการทำงานประสานกัน
2. การอ่านต้องอาศัยการทำงานของสองส่วนหน้า
3. ประมวลผลการทำงานของสมองหลายบริเวณในเวลาที่รวดเร็ว
4. การอ่านเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานประสานกันของสมองและทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาท
การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดจากการอ่านหนังสือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการเรียนรู้ ระบบการทำงาน และโครงสร้างของสมองในระยะยาว
กระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการอ่าน ระบบสํญลักษณ์ (
symbolic process) และการสร้างจินตภาพ (mental representation)
บทบาทของสัญลักษณ์  เด็กจะได้รับข้อมูลและการทำความคุ้นเคยกับการใช้สัญลักษณ์
พลังแห่งจินตภาพ อาศัยภาพที่สร้างขึ้นในโลกภายในสมองมาคิดต่อยอด วางแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงการทดลองแก้ปํญหาเบื้องต้นในโลกของความคิด
หนังสือ คือสิ่งสำคัญที่จะนำเสนอข้อมูลผ่านสัญลักษณ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการสร้างจินตภาพไปได้กว้างไกลอย่างที่สุดกระบวนการที่เปิดกว้าง สร้างสรรค์ และผ่อนคลายขึ้น
เรียนรู้ใจเขาใจเรา การอ่านหนังสือ จะช่วยในการพัฒนาทักษะเรื่อง theory of mind และช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ความคิดและจิตใจของบุคคลอื่นได้ดีขึ้น
รู้จักและเข้าใจตนเอง การอ่านช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านจิตสังคมที่ดีให้กับเด็ก และการสร้างนิสัยรักการอ่านให้ติดตัวไปด้วย ทำให้รู้จักและเข้าใจตนเอง เรียนรู้ว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบอะไร ถนัดหรือไม่ถนัดด้านไหน เพื่อสร้างเอกลักษณ์ และความเป็นตัวของตนเองหรือเรียกว่า การสร้างอัตลักษณ์(identity)
ผ่อนคลายความตึงเครียด การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมคลายความเครียดลดระดับความเครียดได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ
พัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญา
- การประมวลผลจากภาพที่เห็น
- ทักษะในการเรียนของเด็ก การอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาความสามรถในการเรียน
- ความสามารถในการจำที่ดี  การอ่านหนังสือเป็นประจำในขณะที่ยังเยาว์วัยจะช่วยถนอมความจำเอาไว้ได้เมื่ออายุมากขึ้น
- การอ่านเพื่อช่วยในการปรับตัวและลดปัญหาสุขภาพใจ การบำบัดด้วยการอ่าน การอ่านหนังสือเปิดโอกาสให้เด็กทำความเข้าใจตนเอง และสิ่งต่างๆ ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเรียนรู้วิธีที่ดีกว่าในการรับมือกับปัญหา
สร้างเด็กให้กลายเป็น นักอ่าน
1. ขัดเกลาการอ่านให้แคล่วคล่อง
2. สร้างคลังคำศัพท์พื้นฐาน
3. อ่านให้ได้ “ใจความ”
4. บรรยากาศของการเรียนรู้
กลุ่มเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
1. ปัจจัยด้านชีวภาพของเด็ก
2. ปัจจัยด้านจิตใจ
3. ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
 ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน
- มีความบกพร่องเฉพาะด้านการอ่าน
- อ่านได้ช้า ไม่คล่อง สะกดคำไม่ได้ จับใจความไม่ได้
- เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการประมวลผลด้านภาษา
- ไม่ได้เกิดจากความไม่เอาใจใส่ การสอนไม่ดี หรือสติปัญญาไม่ดี
- พบได้ในคนทุกชนชาติและเศรษฐานะ
- หากได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม การอ่านจะดีขึ้น
ความผิดปกติในระบบประสาทของผู้ที่มี LD ด้านการอ่าน  จะมีปัญหาในกระบวนการอ่านเรื่อง การประมวลผลและรับรู้หน่วยเสียงของคำเป็นหลัก โดยจะไม่สามารถเชื่อมโยงหน่วยเสียงเข้ากับตัวอักษรได้

การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องในการอ่าน เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือพิเศษจากทางโรงเรียน ควรมีการพูดคุยระหว่างผู้ปกครองและครูผู้ดูแล ให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นพิเศษ
เช่น การเรียนเสริม การเรียนกลุ่มย่อย การให้เวลาในการสอบเพิ่มขึ้น รวมถึงการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะบุคคล เพื่อจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความสามารถและความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น