เป้าหมายหลัก

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

12. สิงหาคม 2557

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ 12 สิงหาคม 2557
ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เกี่ยวกับการอ่าน
1. ให้หนังสือไปอ่านคนละ 1เล่ม
2. นำเสนอจากเรื่องที่อ่าน เล่าให้ผู้เพื่อนฟัง ตัวละคร ลักษณะตัวละคร ความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน ข้อคิดจากเรื่อง
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธีการเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง
4. แบ่งผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มๆละ 4-5คน
5. แจกบทความให้แต่ละกลุ่ม 1ชุด
6. ตัวแทนอ่านบทความเกี่ยวกับ "การอ่านกับการพัฒนาสมอง" ให้เพื่อนฟัง สรุปจากเรื่องที่ฟังดังนี้
6.1 เมื่อสมองอ่านหนังสือ
     - การอ่านหนังสือมีขั้นตอนที่ซับซ้อน อาศัยการทำหน้าที่ของสมองคนละตำแหน่งทำงานประสานกัน
     - การอ่านอาศัยการทำงานของสมองส่วนหน้า
     - สมองสามารถประมวลผลการทำงานของสมองที่รวดเร็วหากได้รับการฝึกฝนมีทักษะการอ่านที่คล่องแคล่ว
     - การอ่านกระตุ้นให้เกิดการทำงานประสานกันของสมอง และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาท
6.2 การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดจากการอ่านหนังสือ
     - เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการเรียนรู้
     - ระบบการทำงานและโครงสร้างของสมองในระยะยาว
     - ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมอง
  6.3 กระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการอ่าน
    1. บทบาทของสัญลักษณ์( symbolic process ) การใช้สิ่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนอีกสิ่งหนึ่ง
    2. การสร้างจินตนาการ ( mental representation )สร้างภาพที่เป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ เข้าสู่การรับรู้ของเราไปสู่องค์ความรู้ ( schema ) ไปปรับเพื่อเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่
   หนังสือ คือสื่อสำคัญที่จะนำเสนอข้อมูลผ่านสัญลัษณ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการสร้างจินตภาพไปได้กว้างไกลที่สุด
6.4 พัฒนาการด้านอารมณ์และการเข้าสังคม
   - การอ่านหนังสือประเภทนิยายเรื่อวแต่งนั้นจะนำไปสู่การสร้างกระบวนความคิดที่เปฺดกว้าง สร้างสรรค์
และผ่อนคลายมากขึ้น
6.5 เรียนรู้ใจเบาใจเรา
   - ความสามรถในการรับรู้ว่าคนเรา มีความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ความตั้งใจ ความรู้ การรับรู้ และการแสดงออก ในแต่ละคน แต่ละมุมมองอาจมีความหมายแตกต่างกันไป
ุ6.6 รู้จักและเข้าใจตนเอง
  - การอ่านหนังสือไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านจิตสังคมที่ดี แต่ได้รับการสร้างนิสัยรักการอ่านให้ติดตัวไป
6.7 ผ่อนคลายความตึงเครียด
  - การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่คลายความเครียดได้ผลสูงที่สุด ลดความเครียดได้ร้อยละ 68
7. พัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญา
  1. การประมวลผลจากภาพที่เห็น
  2. ทักษะในการเรียนของเด็ก
  3.ความสามารถในการจำดี
  4. การอ่านเพื่อช่วยในการปรับตัวและลดปัญหาสุขภาพใจ
8. การสร้างเด็กให้เป็น"นักอ่าน"
  1. เป็นแบบอย่างของนักอ่าน
  2. ขัดเกลาการอ่านให้แคล่วคล่อง
  3. สร้างคลังคำศัพท์พื้นฐาน
  4. อ่านให้ได้ " ใจความ"
  5. บรรยากาศของการเรียนรู้
9. กลุ่มเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน
  1. ปัจจัยด้านชีวภาพของตัวเด็ก
  2. ปัจจัยด้านจิตใจ
  3. ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  4. ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน
- มีความบกพร่องเฉพาะด้านการอ่าน
- อ่านได้ช้า ไม่คล่อง สะกดคำไม่ได้ จับใจความไม่ได้
- เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการประมวลผลด้านภาษา
- ไม่ได้เกิดจากความไม่เอาใจใส่ การสอนไม่ดี หรือสติปัญญาไม่ดี
- พบได้ในคนทุกชนชาติและเศรษฐานะ
- หากได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม การอ่านจะดีขึ้นได้
  5. ความผิดปกติในระบบประสาทของผู้ที่มี LD ด้านการอ่าน
10. การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องในการอ่าน
 - การให้ความช่วยเหลือในด้านการศึกษา
 - เริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก
 - การให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นพิเศษ เช่น การเรียนเสริม การเรียนกลุ่มย่อย การให้เวลาในการสอบเพิ่มขึ้น

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น