เป้าหมายหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

14 สิงหาคม 2557

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันที่ 14 สิงหาคม 2557
ภาคเช้า
1.ร่วมวิถีของLPMP
2.สังเกตจิตศึกษา ป.3 ครูแป้ง ครูหนัน
- Brain Gym
- ครูเป็นคนทำท่าทาง เด็กทำตามด้วยความตั้งใจ
- นักเรียนคิดท่าทางนำให้เพื่อนทำตามทีละคน
- ครูแป้งและตัวแทนนักเรียน1 คน หันหน้าเข้าหากัน
- ให้นักเรียนเป็นเหมือนกระจกเงาของครูแป้งทำท่าทางตามครูแป้ง ในข้างที่ตรงกันข้ามกัน
- ให้นักเรียนออกมาทำ ทีละ2 คนตรงกลมวงกลม
3. สังเกตการสอนภาษาไทย ป.3 ครูแป้ง
3.1 เตรียมความพร้อมร้องเพลงรักงอมแงม นำเข้าสู่บทเรียน
3.2 ครูแป้งชูบัตรคำที่มีภาษาพูด ภาษาเขียน อยู่คนละด้านให้เด็กอ่านร่วมกัน
3.3 เด็กอ่านคำที่เป็นภาษาพูดก่อน แล้วอ่านภาษาเขียน
3.4 สนทนาโดยใช้คำถามจากคำที่อ่าน
3.4 ครูแป้งให้เด็กช่วยกันหาคำ ภาษาพูด และภาษาเขียน คูกัน ไม่จำกัดจำนวนลงในสมุด แต่กำหนดเวลาในการทำ
งาน ( เสนอแบบตาราง2ช่อง)
3.5 หมดเวลาครูให้เด็กเข้าแถวตอนลึกเป็นกลุ่ม ถือสมุดของใครของเราเอาไว้ นำเสนอคำที่แต่ละคนหาได้ ครูเขียนคำตามที่นักเรียนบอกบนกระดาน
3.6 นักเรียนบันทึกคำที่ครูเขียนบนกระดานที่ยังไม่มีลงในสมุดเพื่อพิสูจน์คำ ค้นหาความหมายของคำ ในวันต่อไป
4. สังเกตการสอนภาษาไทย ป.2 ครูเหมี่ยว ครูแป้ง
4.1 ทบทวนความรู้เดิมมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
4.2 บอกคำที่หาได้ครูเขียนบนกระดาน
4.3 ครูยกตัวอย่างวันอังคาร สะกดอย่างไร เขียนอย่างไร ถ้าเขียนให้ตรงมาตราอยู่ในมาตราอะไร
4.4 ถามนักเรียนว่า ในหนึ่งสัปดาห์ มีวันใดที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
4.5 ให้นักเรียนสำรวจคำที่มีอยู่ในห้องเรียน ที่เขียนไม่ตรงมาตราตัวสะกดและเขียนคำอ่านด้วย คนละ 15 ลงในสมุด
ภาคบ่าย
1.สังเกต PBL ป.2 ครูเหมื่ยว ครูกลอย
1.ให้เด็กวัดความสูงของต้นถั่ว ครูซักถามเด็กด้วยคำถาม เช่น
- สังเกตลักษณะของต้นถั่ว ลักษณะของใบ ลักษณะลำต้น ความสูง
- เปรียบเทียบลักษณะของใบถั่ว กับกลุ่มเพื่อน
- วัดความสูงของต้นถั่ว
- หากต้นถั่วเราตายเพราะอะไร และจะทำอย่างไร
- จะดูแลต้นถั่วอย่างไร
2. เด็กเข้าห้องเรียน ทบทวนสิ่งที่เรียนผ่านไปเมื่อวันก่อนเขียนสิ่งที่รู้แล้วไปแล้ว
3. วันนี้จะให้เด็กออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ สัปดาห์ที่ 1-10
 สัปดาห์ 1 สร้างฉันทะ
- ดูวีดีโอ
- ตั้งชื่อโครงงาน / เลือกสิ่งที่อยากปลูก
- เตรียมอาหาร / เมล็ดถั่ว
- ปลูกถั่ว / รดน้ำ / ใส่ปุ๋ย
- ทำขนมถั่วแปบ / สมุดบันทึก
สัปดาห์ 2 วางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- สังเกต / ตรวจสอบการเจริญเติบโต
- เขียนสิ่งที่รู้แล้ว / สิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับถั่ว
- จัดทำปฏิทินการเรียนรู้
- สรุปรายสัปดาห์
สัปดาห์ 3 การเจริญเติบโต
- ทดลองการปลูกถั่ว
2.ถอดบทเรียน กับครูยิ้ม ครูแป้ง ครูณี
ทำกิจกรรมร่วมกัน
2.1 แต่งเรื่องจากบัตรคำ
1. แจกบัตรคำ คนละ 1 บัตร คว่ำลงตรงหน้าตักของตนเอง ไม่ให้เพื่อนเห็น
2.ให้แต่ละคนเปิดดูบัตรคำของตนเอง คิดท่าทางหรือคำใบ้ความหมายของคำนั้น ให้เพื่อนทายคำที่เราได้
3.ทุกคนวางบัตรคำตรงหน้าตักของตนเอง หาคำจากเพื่อนที่มีความสัมพันธ์กัน จับคู่กับเพื่อนช่วยกันแต่งเรื่อง นำเสนอ
2.2.แสดงละครจากบัตรคำ
1.แจกบัตรคำคนละ 1 คำ
2.แบ่งกลุ่มๆละ  5 คน ให้แต่ละกลุ่มนำคำที่ได้มาแต่งเรื่อง แสดงออกเป็นละคร (การแบ่งกลุ่มใช้วิธีการนับ) จำนวนกลุ่ม/จำนวนคนในกลุ่ม ตามความเหมาะสม
3.ให้เวลาในการแต่งเื่รื่องและฝึกการแสดง 20 นาที
4.แต่ละกลุ่มนำเสนอการแสดงละคร
สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
- การวางแผนการทำงาน
- ทักษะการคิด
- การเชื่อมโยง
- เรียนรู้เรื่องคำ
- การแต่งเรื่อง
- การแสดงออก
- การแสดงบทบาทสมมุติ
2.3 แลกเปลี่ยนการเรียนรู้
2.4.1 การแก้ปัญหาเด็กไม่กล้าแสดงออก
-ให้เด็กอยู่ในห้องเรียน ใช้กิจกรรมหลากหลาย ค่อยๆ ให้เข้าร่วมกิจกรรมบ่อยๆ ถึงแม้เขาจะอยู่นอดห้องเรียน พูดคุยกับผู้ปกครอง รอจนกว่าเขาจะพร้อมก็อาจเข้าร่วมกิจกรรมเอง
2.4.2 การประเมินผล
- ภาษาไทย ฟัง พูด อ่าน เขียน เน้นส่วนสำคัญ คือเน้นทักษะกระบวนการมากกว่าชิ้นงาน ดูความรับผิดชอบ
 - การประเมินผลเด็ก เก่ง อ่อน การประเมินจะไม่เปรียบเทียบตัวเด็ก ดูผลการพัฒนาของเด็กแต่ละคน
- การชื่นชมเด็กเพื่อให้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ทุกคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน ครูคอตกระตุ้นเสริมแรง
2.4.3 การเรียนภาษาไทย เรียนจากวรรณกรรมอย่างน้อย สัปดาห์ ละ 1 เรื่อง เรื่องที่ไม่ยาวก็อ่านไปทีละเล็กละน้อย ขั้นตอนดังนี้
1- อ่านเรื่องก่อน
2- เชื่อมโยงหลักภาษา
3- เรียนรู้หลักภาษา นำไปใช้ เรียนรู้ผ่านหนังหรือวิดีโอ
4- สรุปความเข้าใจ
แนวการสอนภาษาไทย
1. เอาชื่อเรื่องมาคาดเดาเรื่อง น่าจะเป็นอย่างไร คิดอย่างไร
2. เอาชื่อเรื่องมาแต่งเป็นเรื่อง
3. อ่านเรื่อง วิเคราะห์ ตัวละคร บทบาทตัวละคร เหตุการณ์ที่เกิด สถานที่ ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง นำไปใช้
4. ทบทวนเรื่องที่อ่านอีกครั้ง
วิธีการสอน
1. ชง -นำเรื่อง (นเข้าสู่บทเรียน)
2. เชื่อม -เรียนเนื้อหา ค้นคว้า (อภิปรายคำถามร่วมกัน)
3. ใช้ - ให้แบบฝึก (การนำไปใช้ )
4. คิดสร้างสรรค์ต่อ
หลักการเลือกวรรณกรรม
1. เลือกเหมาะสมกับวัย
2. ลักษณะของการใช้คำ เรื่องราวจากเรื่อง
3. วรรณกรรมต้องเป็นเรื่องที่ให้ความคิดในทางบวก
4. คณะครูทุกคนอ่านวรรณกรรม นำเสนอช่วยกันเลือกให้เหมาะสมกับชั้นเรียน
5. เรื่องที่สามารถเชื่อมโยง สอดคล้องกับกลุ่มสาระได้ง่าย
6. ป.1 ฝึกเด็กให้อ่านได้ก่อน
7. วรรณกรรมเรื่องที่ยาว ไม่จำเป็นต้องเรียนทั้งเล่ม เลือกมาเป็นบางตอน
8. ก่อนนำมาสอนต้องวิเคาระห์ให้สอดคล้องกับกลัดภาษา
9. วรรณคดี จะเรียนใน Quarter ที่ 4
หลักการจัดทำแผนการสอน
1. อ่านหนังสือมากๆ ให้จบก่อน
2. วิเคราะห์หลักภาษา
3. วิเคราะห์เชื่อมโยง
4. ทำแผนการสอน
5. เป้าหมายต้องการอะไร
6. หลักภาษา คืออะไร
7. ชิ้นงาน / ภาระงาน











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น